1. ซูโดโค้ด (Pseudocode)
เป็นคำอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม โดยใช้ถ้อยคำผสมระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง จะช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพัฒนาขั้นตอนต่าง ๆ ให้เป็นโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ส่วนใหญ่มักใช้คำเฉพาะ (Reserve Word) ที่มีในภาษาการเขียนโปรแกรมและมักเขียนด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ ซูโดโค้ดที่ดี จะต้องมีความชัดเจน สั้น และได้ใจความ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้จะถูกเขียนอยู่ในรูปของตัวแปร
Algorithm <ชื่อของอัลกอริทึม>
1……………………………….
2……………………………….
…………………………………
END
1……………………………….
2……………………………….
…………………………………
END
Algorithm Average_Sum
1. START
2. READ X
3. READ Y
4. Compute ARRAY = ( X*Y ) / 2
5. Print ARRAY
END
1. START
2. READ X
3. READ Y
4. Compute ARRAY = ( X*Y ) / 2
5. Print ARRAY
END
2. การเขียนผังงาน (Flowchart)
ผังงาน หรือ โฟลวชาร์ต เป็นแผนภาพที่ใช้ออกแบบและอธิบายการทำงานของโปรแกรมโดยอาศัยรูปทรงต่าง ๆ ควบคู่ไปกับลูกศร แต่ละรูปในแผนภาพจะหมายถึงการทำงานหนึ่งขั้นตอน ส่วนลูกศรจะแทนลำดับการทำงานขั้นตอนต่าง ๆ รวมทั้งทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นจนได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ระบบงานทุกชนิดที่ผ่านการวิเคราะห์เป็นลำดับขั้นตอนแล้ว จะสามารถเขียนเป็นผังงานได้
ตารางแสดงสัญลักษณ์และความหมายของผังงาน
สัญลักษณ์ | ชื่อเรียก | ความหมาย |
เริ่มต้นและสิ้นสุด (terminal, start, stop) | จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของผังงาน | |
การนำข้อมูลเข้าออกทั่วไป (general input/output) | จุดที่จะนำข้อมูลเข้าจากภายนอก หรือออกสู่ภายนอก โดยไม่ระบุชนิดของอุปกรณ์ | |
การปฏิบัติงาน (process) | จุดที่มีการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง | |
การตัดสินใจ (decision) | จุดที่จะต้องเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง | |
ทิศทาง (flow line) | ทิศทางขั้นตอนการดำเนินงาน ซึ่งจะปฏิบัติต่อเนื่องกันตามทิศทางของลูกศร | |
จุดเชื่อมต่อในหน้าเดียวกัน (on page connector) | จุดเชื่อมต่อของผังงาน ใช้สัญลักษณ์นี้เพื่อให้ดูง่าย | |
จุดเชื่อมต่อหน้ากระดาษ (off page connector) | จุดเชื่อมต่อของผังงาน ที่อยู่คนละหน้ากระดาษ |
ตัวอย่างผังงาน
ตัวอย่างที่ 1 ผังงานโครงสร้างแบบลำดับ
ตัวอย่างที่ 2 ผังงานแบบเลือกทำ
ตัวอย่างที่ 3 ผังงานแบบทำซ้ำ